คำอธิบายอย่างย่อ
ผู้พัฒนา : | วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม (สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคาม) |
การดำเนินการ : | ดำเนินการอยู่ |
สถานที่ตั้ง : | จังหวัดมหาสารคาม |
คำสำคัญ : |
บริการนำองค์ความรู้สู่ชุมชนที่สนใจ
ติดต่อสอบถามถึงกระบวนการทำงานได้ 24 ชั่วโมง
ร่วมทุนในการพัฒนาต่อยอดโครงการ
ประเมินค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ และการเดินทาง
ปลาดุกมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ รูปแบบการเลี้ยงเป็นแบบหนาแน่นจึงทำให้ปลาเครียด อ่อนแอ เกิดโรคได้ง่าย เกษตรกรแก้ปัญหาโดยใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมโรคและเร่งการเจริญเติบโต แต่วิธีการนี้มีผลเสียต่อสุขภาพของคนและเชื้อโรคดื้อยา ที่สำคัญส่งผลกระทบต่อการส่งออก นักวิจัยและเกษตรกรจึงหันมาใช้พืชสมุนไพรทดแทนยาปฏิชีวนะ และพริกมีสารแคพซาซินที่ให้รสเผ็ดซึ่งช่วยเจริญอาหารช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้นและมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและได้ทดลองใช้สารสกัดพริกแบบหยาบมาผสมกับอาหารเม็ดสำเร็จรูปเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยพบว่าปลาไม่เกิดโรค มีการเจริญเติบโตดีกว่าการให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปอย่างเดียว แต่ก็พบปัญหาคือสารสกัดพริกแบบหยาบมีกลิ่นเหม็นเน่าเสียง่าย จึงพัฒนาสารสกัดพริกด้วยน้ำมันเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพใช้ผสมกับอาหารเลี้ยงปลาทำให้ปลาแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว และสามารถลดต้นทุนการเลี้ยงปลาได้