คำอธิบายอย่างย่อ
ผู้พัฒนา : | (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) |
การดำเนินการ : | ดำเนินการอยู่ |
สถานที่ตั้ง : | |
คำสำคัญ : |
บริการนำองค์ความรู้สู่ชุมชนที่สนใจ
ติดต่อสอบถามถึงกระบวนการทำงานได้ 24 ชั่วโมง
ร่วมทุนในการพัฒนาต่อยอดโครงการ
ประเมินค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ และการเดินทาง
กลุ่มเป้าหมาย ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม กิจกรรมดำเนินงาน
ชุมชนโพธิ์ศรี1 ได้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำข้าวเม่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 โดยยังคงอนุรักษ์กรรมวิธีการผลิตดั้งเดิม คือ การแช่ข้าวเปลือกเหนียว การคั่วในหม้อดินจนมีกลิ่นหอม และการตำในครกมองหรือครกกระเดื่อง อีกทั้งได้มีการนำเอาคำว่า "ข้าวเม่า" ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน มาตั้งชื่อเป็นถนนข้าวเม่าในปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบัน ชุมชน ได้ยกระดับสู่การจดเป็นวิสาหกิจชุมชน โดยใช้ชื่อว่า "วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม" และได้พัฒนากรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย มีมาตรฐาน และสามารถแปรรูปผลิตจาก ข้าวเม่าในหลากหลายรูปแบบ สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค โดยเลือกใช้สีสันจากวัตถุดิบในชุมชนที่สื่อสะท้อนความหมายด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของคนในชุมชน และเพิ่มคุณค่าทางโภชนาและสมุนไพร เช่น ใบเตย อัญชัน และดอกเฟื่องฟ้า เป็นต้น เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา ฟื้นฟูอัตลักษณ์ชุมชน สู่การสร้างอาชีพและรายได้ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน โดยในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม จะเป็นช่วงที่ข้าวออกรวงใหม่และเป็นข้าวน้ำนม และเป็นฤดูกาลที่จะได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพที่เหมาะกับการผลิตและเป็นของฝากของเมืองมหาสารคาม
คุณค่า (Value Proposition)
เป็นองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลตลาด อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม ที่มาจากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น และได้รับยกระดับดัวยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากการบูรณาการความร่วมมีอสหวิทยาการของหลายภาคส่วนที่คนในชุมชนโพธิ์ศรีได้รับประโยชน์ ทั้งเศรษฐกิจ (เกิดรายได้/แหล่งท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรม) สังคม (ชุมชนเข้มแข็ง) และสิ่งแวดล้อม วิจัย/นวัตกรรม/เทคโนโลยี
การวิจัย : การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการคัดกรองและการดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม