คำอธิบายอย่างย่อ
ผู้พัฒนา : | วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม (สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคาม) |
การดำเนินการ : | ดำเนินการอยู่ |
สถานที่ตั้ง : | จังหวัดมหาสารคาม |
คำสำคัญ : |
บริการนำองค์ความรู้สู่ชุมชนที่สนใจ
ติดต่อสอบถามถึงกระบวนการทำงานได้ 24 ชั่วโมง
ร่วมทุนในการพัฒนาต่อยอดโครงการ
ประเมินค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ และการเดินทาง
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรต้นแบบของการผลิตน้ำปลาหวาน ศึกษาปริมาณที่เหมาะสมและความพึงพอใจในการนำซีอิ๊วใสมาใส่เป็นส่วนผสมแทนน้ำปลา ปริมาณที่เหมาะสมและความพึงพอใจในการนำน้ำผึ้งมาใส่เป็นส่วนผสม ศึกษาค่าความหวานของน้ำปลาหวานค็อกเทล สูตรน้ำผึ้ง ศึกษาคุณภาพน้ำปลาหวานด้านจุลินทรีย์ ปริมาณยีสต์และรา โดยมีวิธีวิจัยคือการคัดเลือกสูตรต้นแบบน้ำปลาหวานจากเครื่องปรุงรสเค็มที่ได้จากน้ำปลาโดยเปรียบเทียบสูตร 3 สูตร นำไปประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส 9 ระดับหรือ 9–point hedonic scale test มีระดับการยอมรับ คือ ไม่ชอบมากที่สุด ไม่ชอบมาก ไม่ชอบปานกลาง ไม่ชอบเล็กน้อย เฉยๆ ชอบเล็กน้อย ชอบปานกลาง ชอบมาก ชอบมากที่สุด จากผู้ร่วมประเมินทางประสาทสัมผัสที่ไม่ผ่านการฝึกฝนจำนวน 20 คน และเลือกสูตรที่ยอมรับที่สุดไปทำการพัฒนาต่อโดยเปลี่ยนจากใส่น้ำปลาเป็นซีอิ๊วใส และใส่น้ำผึ้งในสัดส่วนร้อยละ 10 11 12 ในสูตรที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับ และนำไปประเมินทางประสาทสัมผัสทั้งสี่ด้านเลือกสูตรที่ผ่านการยอมรับไปเก็บในบรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว ระยะเวลา 1 สัปดาห์ ศึกษาคุณภาพด้านจุลินทรีย์ ด้านยีสต์ รา