คำอธิบายอย่างย่อ
ผู้พัฒนา : | วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม (สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคาม) |
การดำเนินการ : | ดำเนินการอยู่ |
สถานที่ตั้ง : | จังหวัดมหาสารคาม |
คำสำคัญ : |
บริการนำองค์ความรู้สู่ชุมชนที่สนใจ
ติดต่อสอบถามถึงกระบวนการทำงานได้ 24 ชั่วโมง
ร่วมทุนในการพัฒนาต่อยอดโครงการ
ประเมินค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ และการเดินทาง
การบริโภคผักผลไม้ก่อนนำมาบริโภค ควรมีการล้างหรือทำความสะอาดที่เหมาะสม เพื่อลด สารพิษที่ตกค้างให้มากที่สุด ปัจจุบันนี้การล้างผักผลไม้ส่วนใหญ่แล้วล้างด้วยน้ำเปล่าหรือใช้สารเคมีในการล้าง ซึ่งก็ยังคงมีสารพิษจากยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่มากกว่า 50% ได้ศึกษาหาวิธีการล้างผักโดยใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นที่มีความสามารถในการล้างสารพิษจากยาฆ่าแมลง และจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ล้างผัก-ผลไม้จากเสลดพังพอน การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทำผลิตภัณฑ์ผงล้างผัก-ผลไม้ ที่สะดวกต่อการใช้งานและศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ล้างผัก-ผลไม้โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียน นักศึกษา ครู เจ้าหน้าที่และนักการภารโรง จำนวน 100 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์ เก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Excel ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 80 อายุระหว่าง 15-25 ปี ร้อยละ 70 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 68 ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผงล้างผัก-ผลไม้มี 4 ด้าน ข้อมูลมีรายละเอียดดังนี้ ด้านรูปแบบโดยรวมของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x=4.48) ด้านความปลอดภัยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.53) ด้านราคาและความคุ้มค่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x=4.56) ด้านการนำไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x=4.59)